โรคใบติด

เชื้อสาเหตุ : Rhizoctonia solani

พบได้ทั่วไปในแปลงปลูกทุเรียนที่มีความชื้นสูง เกิดกับทุเรียนที่มีความสมบูรณ์สูง ทรงพุ่มหนา พบมากกับพันธุ์ชะนีและหมอนทอง เชื้อราแพร่กระจายจากใบที่เป็นโรคร่วงหล่นไปค้างอยู่กับใบอ่อนที่อยู่ถัดลงมาและบริเวณโคนต้น เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาศัยในเศษซากพืช แพร่ระบาดเข้าทำลายพืชได้ในระยะใบอ่อน ช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง อากาศร้อน และหนาวในเวลากลางคืน

ลักษณะอาการ

อาการเริ่มแรกพบแผลคล้ายถูกน้าร้อนลวกบนใบ ต่อมาแผลขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง ถ้ามีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใย มีลักษณะคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่ง ก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง โรคจะลุกลามทาให้ใบไหม้เห็นเป็นหย่อม ๆ อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบ หรือทั้งใบ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทาให้ต้นเสียรูปทรง

     

ที่มา : กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

การป้องกันรักษา

1. ทีบูคิว 43 [ ทีบูโคนาโซล : กลุ่ม 3 ]

ป้องกันกำจัด โรคใบติด ราดำ ราน้ำค้าง

คำแนะนำการใช้ : ใช้อัตรา 10-20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร 

คุณภาพ เหนือราคา